วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

พระบรมธาตุนาดูน







108 เส้นทางออมบุญ
ออมบุญเพื่อสิริมงคลแห่งชีวิต (อีสาน)
พระธาตุนาดูน  มหาสารคาม
โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

พระธาตุนาดูน  มหาสารคาม
                ภาคอีสานของบ้านเรานั้นถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีพระธาตุสำคัญมากมาย
ประดิษฐานอยู่ในจังหวัดต่างๆพระธาตุองค์หนึ่งที่ได้รับความเคารพสักการะจาก
ประชาชนอย่างแพร่หลาย   ในด้านของความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคลแห่ง
ชีวิตนั้นคือพระธาตุนาดูน  ว่ากันว่าพระธาตุนาดูนนั้นถูกขุดค้นพบขึ้นจากเนินดิน 
ที่เป็นซากโบราณสถานกาลทุ่งนาแห่งบ้านนาดูน

                โดยมีการค้นพบสถูปโลหะจำลองทรงกลมสูง  24.4  เซนติเมตร  ภายใน
พบว่าบรรจุผอบถึงสามชั้นเรียงกันคือ ชั้นนอกสุดเป็นสัมฤทธิ์  ชั้นกลางเป็นเงิน 

ชั้นในสุดเป็นทองคำ   และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่มีความงดงามยิ่ง
รวมไปถึงพระพิมพ์โบราณ  ที่ด้านหลังพระพิมพ์บางองค์ยังมีจารึกเป็นภาษาขอม
โบราณและมอญโบราณ  เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง  ทางพระพุทธศาสนา
ของดินแดนแห่งนี้ในอดีตกาล  รัฐบาลกรมศิลปากร  และชาวมหาสารคาม  จึงร่วม
กันจัดสร้างพระธาตุนาดูนขึ้น  ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้เพื่อเป็นปูชนียสถาน
และสิริมงคลต่อไป

                ในบริเวณเดียวกันยังมีศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจัมปาศรีที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ
ศิลปวัตถุที่ค้นพบและเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอาณาจักรจัมปาศรีนครโบราณในสมัยทวาราวดี 
ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-16ซึ่งได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีกระจายตัวอยู่หลาย
แห่งโดยเฉพาะในเขตอำเภอนาดูน ได้แก่  กู่สันต-รัตน์  กู่น้อย  ศาลานาขาว   พระพิมพ์ดินเผา
สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ตลอดจนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เป็นต้น


สถานที่ตั้ง
             บ้านนาดูน  ต.พระธาตุ   อ.นาดูน  จ.มหาสารคาม  ห่างจากตัวจังหวัด ราว  65  กม.

ความเชื่อและวิธีการบูชา
              หากท่านได้มาเยือนถึงบ้านนาดูนแห่งนี้  ควรมานมัสการพระธาตุนาดูนสักครั้ง
เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิตและขอพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

คาถาบูชาพระธาตุนาดูน
                (ท่อง นะโม  3  จบ)  อะตีเตกิระ   จัมปาสีนะคะเร  สัมมาสัมพุทธะ  สารีริกธาตุ
นาตะละนามัง  นะคะระฐาเนวะ มะหาสารัคามัง   นะคะระสีมัง   ปัจจุบันนัญจะ 
สิระสานะมามิ  (สิระสานะมามะ)

เทศกาลงานประเพณี
                งานนมัสการพระธาตุจัดขึ้นในช่วงวันมาฆบูชาของทุกปี (ขึ้น 15  ค่ำเดือน 3 ) 
ของทุกปีรวม 9 วัน  9 คืน

แก้ไขโดย  นางสาวจิระภา  ปาจุติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น